ประเพณียี่เป็ง (ภาคเหนือ)
ประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวล้านนาของภาคเหนือ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า " ยี่ " แปลว่า " สอง " ส่วน " เป็ง " แปลว่า " เพ็ญ " หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย เป็นงานบุญ "ยี่เป็ง" ของเมืองเชียงใหม่
งานประเพณีจะมี 3 วัน
- วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด
- วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
- วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
โดยชาวล้านนาในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ โดยจำลองเหตุการณ์ที่ชาวเมืองจัดบ้านเมืองเพื่อต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดร และมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดว่าวไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประเพณียี่เป็งเป็นเทศกาลทางภาคเหนือของประเทศไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัวมีการนำเสนอเทียนและประดิษฐ์จากไหมพรมแดนเหนือของประเทศไทย มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการบูชาและเฉลิมฉลองในหลายๆทาง จะมีการประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่างๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีปบูชา โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน มีหลากหลายรูปทรง เช่น โคมรังมดส้ม โคมไห โคมกระจัง โคมดาว โคมกระบอก โคมเงี้ยว(โคมเพชร) โคมหูกระต่าย โคมผัด โคมแอว โคมญี่ปุ่น ฯลฯ อีกมากมาย
ซึ่งเป็นประเพณีและวัฒนธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทย และมีความหลากหลายในการจัดทำและบูชาขึ้นอย่างสม่ำเสมอในหลายพื้นที่ในภาคนี้ตลอดทั้งปี การเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นทำให้เทศกาลนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในวัฒนธรรมของภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้เทศกาลหรือประเพณีต่างๆ ของทางภาคเหนือยังมี ประเพณีทานขันข้าว ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว) ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า ประเพณีสลากภัต ฯลฯ อีกด้วย
อ้างอิงแหล่งที่มา :
https://th.wikipedia.org
https://www.sanook.com
https://www.finearts.go.th